วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

8.ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption



             รวีวรรณ  ชินะตระกูล  (2540 : 16) กล่าวว่า   การทำวิจัยแต่ละเรื่อง  ผู้วิจัยต้องตกลงไว้ก่อนว่าในการทำวิจัยของคนมีอะไรบ้างเชื่อว่าเป็นไปได้ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทดลองหรือไม่ได้หาค่ามาแสดง  ควรมีเหตุผลมารองรับข้อตกลงเบื้องต้น 
Ajdusadee (http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html) กล่าวว่า   ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการวิจัยเช่น การใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล
                นงลักษณ์ วิรัชชัย (2537 : 10)  กล่าว่า     การเขียนข้อตกลงเบื้องต้นนั้น ผู้วิจัยจะต้องถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญ และชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหาของงานวิจัยที่เป็นความจริง เป็นพื้นฐานความเชื่อเบื้องต้น และเป็นที่ยอมรับกัน และไม่ต้องการพิสูจน์ โดยอาศัยการใช้หลักฐาน และการยืนยันจากข้อมูลเบื้องต้น หรือทฤษฎี ข้อตกลงเบื้องต้นนั้น มักต้องอาศัยข้อเท็จจริง ความเชื่อ ทฤษฎี กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ข้อผิดพลาดที่บังเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เป็นต้น
                สรุป
                ข้อตกลงเบื้องต้น  คือ  ผู้วิจัยจะต้องถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญ และชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหาของงานวิจัยที่เป็นความจริง เป็นพื้นฐานความเชื่อเบื้องต้นโดยอาศัยการใช้หลักฐาน และการยืนยันจากข้อมูลเบื้องต้น หรือทฤษฎี ข้อตกลง   เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการวิจัย

ที่มา
รวีวรรณ  ชินะตระกูล.   (2540) .   โครงร่างวิจัย. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ภาพพิมพ์.
                Ajdusadee . (ออนไลน์).  เข้าได้จาก  :  http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html.   สืบค้นเมื่อวันที่  12    พฤศจิกายน  พ..2555.
            นงลักษณ์ วิรัชชัย.  (2544).   การวิจัย.  กรุงเทพ ฯ :  ถ่ายเอกสาร.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น