วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

14.การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Colloction)


               ไพฑูรย์  สินลารัตน์  (2534 :22)  กล่าวว่า  การให้คำอธิบายว่า  จะใช้สูตร  เกณฑ์  หรือวิธีการใด  ในการวิเคราะห์ข้อมูล  และแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
                รวีวรรณ  ชินะตระกูล  (2540 : 25)   กล่าวว่า  การวิเคราะห์ข้อมูล  ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยมิใช่ว่าจะเป็นข้อมูลเชิงประมาณเพียงอย่างเดียว  และข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่แสดงอยู่  ก็มิใช่ว่าจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณเสมอไป  อาจเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพก็ย่อมได้ 
สุภาพ วาดเขียน  (2520 : 12)    กล่าวว่า การวิเคราะห์ข้อมูลคือการจำแนกข้อมูลโดยจัดอันดับความมากน้อย ใหญ่เล็กและจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ การตรวจนับ การตรวจสอบข้อบกพร่องและความเชื่อถือของแหล่งที่มาตลอด การพิจารณาว่าข้อมูลที่รวบรวมมาได้นั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ตอบสมมติฐานหรือปัญหาที่ตั้งไว้หรือไม่ การวิเคราะห์ข้อมูลนับว่าเป็นการแสดงหรือการสาธิตผลการทดลองออกมาได้เห็นอย่างชัดเจนมีเหตุผล และนำเอาวิธีการทดลองสถิติมาใช้วิเคราะห์และตีความหมาย ซึ่งจะต้องใช้ประสบการณ์ ความรอบรู้ เหตุผล ความยุติธรรม ความเชื่อได้ ความชำนาญ และหลักการต่างๆในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์
                สรุป
การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง การนำผลสรุปที่ได้ไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจนั้น จะต้องเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยพิจารณาว่าต้องการวิเคราะห์ข้อมูลแบบกี่ตัวแปร และต้องการเสนอผลในรูปสถิติเชิงพรรณนาหรือสถิติเชิงอนุมาน ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละแบบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับข้อมูลและการเสนอผล
ที่มา
 ไพฑูรย์  สินลารัตน์(2534)  การวิจัยทางการศึกษา : หลักและวิธีการสำหรับนักวิจัย.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
                  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
                รวีวรรณ  ชินะตระกูล.  (2540) .  วิจัยทางการศึกษา.   กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ภาพพิมพ์.
                สุภาพ วาดเขียน.  (2520).  วิธีวิจัยเชิงการทดลองทางการศึกษา.  กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น