วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

5.วัตถุประสงค์ของการทำวิจัย (Objective)


                  ไพฑูรย์  สินลารัตน์  (2534 : 14)   กล่าวว่า  ในส่วนนี้ผู้วิจัยควรระบุวัตถุประสงค์ของการวิจัยลงไปให้ชัดเจนเป็นข้อ ๆ ว่า  ในการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยมุ่งศึกษาอะไรบ้าง  การระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนจะช่วยให้ผู้อ่านเห็นขอบเขตของการวิจัยว่า  จะมีการศึกษาอะไรในการวิจัยนั้น
                รวีวรรณ  ชินะตระกูล   (2540 : 20) กล่าวว่า   การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย  ต้องสอดคล้องกับเรื่องที่ต้องศึกษา  ควรกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้ชัดเจน  ต้องสัมพันธ์กับขอบเขตของปัญหาที่จะศึกษา  ถ้ากำหนดวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน  อาจทำให้ผลการวิจัยที่ได้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของปัญหาที่จะศึกษา  และในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย  ควรจัดเรียงวัตถุประสงค์ของแต่ละข้อตามลำดับของการวิจัย
                เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์  (2535 : 13) กล่าวว่า  เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้
                สรุป
                วัตถุประสงค์ของการทำวิจัย  คือ เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้    ถ้ากำหนดวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน  อาจทำให้ผลการวิจัยที่ได้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของปัญหาที่จะศึกษา  และในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย  ควรจัดเรียงวัตถุประสงค์ของแต่ละข้อตามลำดับของการวิจัย

                ที่มา
              ไพฑูรย์  สินลารัตน์.   (2534).  หลักและวิธีการสำหรับนักวิจัย.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
                รวีวรรณ  ชินะตระกูล.  (2540) .   โครงร่างวิจัย.  กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ภาพพิมพ์.
                เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์(2535).  โครงร่างวิจัย.    กรุงเทพฯ  : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น