วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

16. ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย


                 รวีวรรณ  ชินะตระกูล  (2540 : 12)   กล่าว่า   การเขียนขอบเขตของการวิจัยให้ชัดเจน  เพื่อให้งานวิจัยของตนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้และลักษณะของปัญหาที่ต้องการวิจัย  ควรกำหนดขนาดและลักษณะของตัวอย่างประชากร  กำหนดชนิดของเครื่องมือ  รวมทั้งลักษณะและขอบเขตของเนื้อหาในเครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัย  กำหนดขอบเขตเรื่องที่ต้องการศึกษาว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่ต้องการศึกษา
            เก่ง  ภูวนัย   http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   กล่าว่า  เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา
            เทียนฉาย กีระนันทน์   (2547: 35)    กล่าวว่า  เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา
            สรุป
                ขอบเขตการทำวิจัย  คือ  การเขียนขอบเขตของการวิจัยให้ชัดเจน  ควรกำหนดขนาดและลักษณะของตัวอย่างประชากร  กำหนดชนิดของเครื่องมือ  รวมทั้งลักษณะและขอบเขตของเนื้อหาในเครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัย  กำหนดขอบเขตเรื่องที่ต้องการศึกษาว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่ต้องการศึกษา

ที่มา
รวีวรรณ  ชินะตระกูล . (2540) .  วิจัยทางการศึกษา.  กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ภาพพิมพ์.
                เก่ง  ภูวนัย . (ออนไลน์).  เข้าได้จาก :http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 .  สืบค้นเมื่อวันที่  12 
                           พฤศจิกายน  พ..2555.
             เทียนฉาย กีระนันทน์.   (2547).    สังคมศาสตร์วิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์    
                         มหาวิทยาลัย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น