วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

4. คำถามของการวิจัย (Research Question (s))


                 เก่ง  ภูวนัย ( http://blog.eduzones.com/jipatar/85921)    กล่าวว่า  คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
                Mr. Rapassak Ekapong Hetthong  (http://www.wijai48.com/proposal/proposal_1.htm)
กล่าวว่า   คำถามการวิจัยที่สำคัญที่สุดจะเป็นคำถามหลัก (primary research question) นำมาใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณขนาดตัวอย่าง อาจมีคำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ แต่ผลการวิจัยอาจไม่สามารถตอบคำถามรองได้ เพราะการคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
                พจน์ สะเพียรชัย  (2516 :  13)  กล่าวว่า  เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้
                สรุป
                 คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้

ที่มา
เก่ง  ภูวนัย. ( http://blog.eduzones.com/jipatar/85921) .   สืบค้นเมื่อวันที่  13  พฤศจิกายน  พ..2555.
Mr. Rapassak Ekapong Hetthong.  (http://www.wijai48.com/proposal/proposal_1.htm)  สืบค้นเมื่อวันที่  13
            พฤศจิกายน   ..2555.
พจน์ สะเพียรชัย.  (2516).   หลักเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1.   กรุงเทพฯ  :  วิทยาลัยวิชาการศึกษา
           ประสานมิตร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น