วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

6.สมมติฐาน (Hypothesis)


               ไพฑูรย์  สินลารัตน์  (2534 : 10)  กล่าวว่า  โดยทั่วไปแล้วเมื่อผู้วิจัยตัดสินใจจะทำการวิจัยเรื่องใด  ผู้วิจัยมักจะคาดหวังผลบางอย่างจากการวิจัยไว้ตั้งแต่ต้น  ทั้งนี้โดยอาศัยประสบการณ์  การสังเกต  ทฤษฎี  หรือผลงานวิจัยที่มีมาก่อนเป็นหลัก  การทำนั้นการวิจัย  การทำวิจัยก็คือการศึกษาเพื่อดูว่า  สิ่งที่คาดหวังนั้น  จะเป็นจริงหรือไม่จริงตามความคาดหวัง 
                Kerlinger (1986 : 11) (อ้างในสำลี  ทองธิว 2552 : 16 )    กล่าวว่า  สมมติฐานคือข้อความคาดเดาหรือแนวโน้มของข้อเสนอ  (Proposal)  เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปรากฎการณ์หรือตัวแปรสองตัวหรือมากกว่า
                ไพศาล  วรคำ   (2532 : 20)   กล่าวว่า   คำตอบที่คาดคะเนไว้สำหรับปัญหาเชิงวิจัยอันหนึ่งอันใด  โดยที่ยังมิทันทดสอบว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้องหรือไม่  แต่ก็มีเหตุผลบางประการที่ชวนให้คิดว่าน่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
                สรุป
                สมมติฐาน  คือ  การคาดคะเนคำตอบ  โดยอาศัยประสบการณ์  การสังเกต  ทฤษฎี   เพื่อดูว่าที่คาดหวังนั้นจะเป็นเป็นจริงหรือไม่

ที่มา   
ไพฑูรย์  สินลารัตน์.   (2534).   การวิจัยทางการศึกษา : หลักและวิธีการสำหรับนักวิจัย.  กรุงเทพฯ :
               โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำลี   ทองธิว . (2552).  การวิจัยทางการศึกษา : หลักและวิธีการสำหรับนักวิจัย.  กรุงเทพฯ :
               โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
                ไพศาล  วรคำ (2532).  การวิจัยทางการศึกษา. กาฬสินธุ์ โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น