วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)


                     ทิศนา แขมมณี. (2554:หน้า90-95)   กล่าวว่าทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์และของวีก็อทกี้เป็นรากฐานสำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพียเจต์อธิบายว่า  พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซับหรอดูดซึมและกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา    ส่วนวีก็อทกี้  ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก   นักทฤษฎีกลุ่มการสร้างความรู้   มีความเห็นว่า  โลกนี้จะมีอยู่จริง  และสิ่งต่างๆมีอยู่ในโลกจริง  แต่ความหมายของสิ่งเหล่านั้น  มิได้มีอยู่ในตัวของมัน  สิ่งต่างๆมีความหมายขึ้นมาจากการคิดของคนที่รับรู้สิ่วนั้น  และแต่ละคนจะให้ความหมายของสิ่งเดียวกัน  แตกต่างกันไปอย่างหลากหลาย
         

                สุรางค์ โคว้ตระกูล กล่าวว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เป็น  ทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และ สิ่งต่างๆเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึง       เป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction) 

                (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)   กล่าวว่า  Devries (1992:3-6)  การเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และควบคุมการเรียนรู้เปลี่ยนไปเป็นการให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวก และช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ คือการเรียนการสอนจะต้องเปลี่ยนจาก instruction ไปเป็น construction คือเปลี่ยนจากการให้ความรู้ ไปเป็นการให้ผู้เรียนสร้างความรู้
           

                   สรุป           ทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และ     สิ่งต่างๆเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึง           เป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction)  และถ่ายทอดความรู้และควบคุมการเรียนรู้เปลี่ยนไปเป็นการให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวก และช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ คือการเรียนการสอนจะต้องเปลี่ยนจาก instruction ไปเป็น construction คือเปลี่ยนจากการให้ความรู้ ไปเป็นการให้ผู้เรียนสร้างความรู้

                ที่มา    ทิศนา แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยหน้า90-95

ที่มา   สุรางค์ โคว้ตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
ที่มา (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)  เข้าถึงเมื่อวันที่  5  กรกฎาคม  2555



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น