วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)


                 แก้วกล้า    มีชัย.   http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php?topic_id=13741&hit=1     กล่าวว่า       พรรณี ช. เจนจิต (2538: 404-406) แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีความเห็นว่า  การศึกษาพฤติกรรมควรเน้นความสำคัญของการะบวนการคิดและการรับรู้ของคนได้ให้ข้อเสนอ           แนะว่าคนทุกคนมีธรรมชาติภายในที่ใฝ่ใจใคร่เรียนเพื่อก่อให้เกิดสภาพที่สมดุลดังนี้นั้นการที่เด็ก     ได้มีโอกาสเรียนตามความต้องการและความสนใจของตนจะเป็นสิ่งที่มีความหมายสำหรับเด็ก      มากกว่าที่ครูหรือผู้อื่นจะบอกให้ ซึ่งก็คือ การจัดการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
             
              วัชระ    กล่าวว่ากลุ่มพุทธินิยม หรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่าง ๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
            
           ทิศนา แขมมณี.(2550 )  กล่าวว่า   Lall and Lall  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ได้กล่าวไว้ว่าการเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งเพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว


สรุป   กลุ่มพุทธินิยม หรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่าง ๆ   การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเองเน้นความสำคัญของการะบวนการคิดและการรับรู้ของคนได้ให้ข้อเสนอ                 แนะว่าคนทุกคนมีธรรมชาติภายในที่ใฝ่ใจใคร่เรียนเพื่อก่อให้เกิดสภาพที่สมดุลดังนั้นการที่เด็ก        ได้มีโอกาสเรียนตามความต้องการและความสนใจของตนจะเป็นสิ่งที่มีความหมายสำหรับเด็กได้พัฒนาตามวัยอย่างเป็นขั้นตอน              มากกว่าที่ครูหรือผู้อื่นจะบอกให้ ซึ่งก็คือ การจัดการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ”   

   ที่มา    แก้วกล้า    มีชัย.(ออนไลน์)   http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php?topic_id=13741&hit=1     เข้าถึงเมื่อวันที่  2  กรกฎาคม  2555
  ที่มา    วัชระ   สำนักบริการข้อมูลและสารสนเทศ  http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=3370.0     เข้าถึงเมื่อวันที่  2  กรกฎาคม  2555
ที่มา   ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น