วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing)


                      ทิศนา แขมมณี (2554:หน้า80)      กล่าวว่า คลอสไมเออร์  อธิบายกระบวนการประมวลข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง  5  การบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น  ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ  2  ประการ คือ  การรู้จักและความใส่ใจของบุคคลที่รับสิ่งเร้า   เมื่อข้อมูลข้าวสารได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะยาวแล้ว  การเรียกออกมาใช้บุคคลจำเป็นต้องถอดรหัสข้อมูลจากความจำระยะยาวนั้น  กระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลข้างต้น  จะได้รับการบริหารควบคุมอีกชั้นหนึ่ง  ซึ่งหากเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์แล้ว  ก็คือโปรแกรมสั่งงานหรือ  “software”นั่นเอง
               
      กิติขวัญ.    (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)   กล่าวว่า    Eggen and Kuachak  กระบวนการทางสมองในการประมวล         ข้อมูลเปรียบเทียบได้กับคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมสั่งงาน การบริหารควบคุมการประมวลของ       สมองก็คือการที่บุคคลรู้ถึงการคิดของตนและสามารถควบคุมได้ลักษณะนี้เรียกว่า การรู้คิด   องค์ประกอบสำคัญของการรู้คิดที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการประมวลข้อมูลประกอบด้วย          แรงจูงใจ ความตั้งใจ และความมุ่งหวังต่างๆ
                   
(http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7  ) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
              

สรุป      กระบวนการประมวลข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง  5  การบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น  ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ  2  ประการ คือ  การรู้จักและความใส่ใจของบุคคลที่รับสิ่งเร้า   เมื่อข้อมูลข้าวสารได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะยาวแล้ว  การเรียกออกมาใช้บุคคลจำเป็นต้องถอดรหัสข้อมูลจากความจำระยะยาวนั้น  กระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลข้างต้น  จะได้รับการบริหารควบคุมอีกชั้นหนึ่ง  ซึ่งหากเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์แล้ว  ก็คือโปรแกรมสั่งงานหรือ  “software”นั่นเอง     การบริหารควบคุมการประมวลของสมองก็คือการที่บุคคลรู้ถึงการคิดของตนและสามารถควบคุมได้ลักษณะนี้เรียกว่า การรู้คิด                 องค์ประกอบสำคัญของการรู้คิดที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการประมวลข้อมูลประกอบด้วย          แรงจูงใจ ความตั้งใจ และความมุ่งหวังต่างๆ

              ที่มา      ทิศนา แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพกรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยหน้า80-84
                  ที่มา    กิติขวัญ.   (ออนไลน์)   (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)  เข้าถึง     เมื่อ 4  กรกฎาคม  2555       
                  ที่มา   (http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7  )   เข้าถึงเมื่อวันที่  4 กรกฎาคม  2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น