วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีกลุ่มมนุษยนิยม(Humanism)


               แก้วกล้า  มีชัยโย   http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php?topic_id=13741&hit=1%20%20%20%20%20%20%20%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87  กล่าวว่าMaslow  ได้เสนอแนวคิดใหม่ เรียกว่า Third Force Psychology ซึ่งมีความเชื่อพื้นฐานว่า ถ้าให้อิสรภาพแก่เด็กเด็กจะเลือกสิ่งทีดีสำหรับตนเอง พ่อแม่และครูได้รับการกระตุ้นให้มีความไว้วางใจในตัวเด็กและควรเปิดโอกาสและช่วยให้เด็กเจริญเติบโตต่อไป ไม่ใช่ใช้วิธีการควบคุมและบงการชีวิตของเด็กทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ
                  กันยา    สุวรรณแสง. (2532). กล่าวว่า     คาร์ล  อาร์  โรเจอร์  กลุ่มมนุษยนิยมคือ
1. .เชื่อว่ามนุษย์  คือ  สัตว์โลกประเภทหนึ่ง  มีจิตใจ  มีความต้องการความรัก  ความอบอุ่น  ความเข้าใจ  และมีความสามารถเฉพาะตัว               
2. เชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนต่างก็พยายามจะรู้จักและเข้าใจตนเองและยอมรับในสมรรถวิสัยของตนเอง
3.  เชื่อว่ามนุษย์ต่างก็เข้าใจผู้อื่นและยอมรับตนเองอยู่แล้ว  ต่างคนก็มุ่งสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้แก่ตนเอง
                ศักดา  ปรางค์ประทานพร. (2526 : 31)  กล่าวว่า  มนุษย์นิยม  ถือว่าเป็นมนุษย์เป็นผลผลิตของวิวัฒนาการ ถึงแม้จะมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์แต่ปัจจุบันก็ต่างจากสัตว์มาก  เรามีวิถีชีวิตและประสบการณ์ที่เป็นเฉพาะตัวของเราเอง  มนุษย์มีความสามารถที่จะชื่นชมและลิ้มรสสิ่งต่างๆ ได้  มีจารีตประเพณีและศิลปะต่างๆ
                                                                                        
                สรุป  เชื่อว่ามนุษย์  คือ มนุษย์เป็นผลผลิตของวิวัฒนาการ ถึงแม้จะมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์แต่ปัจจุบันก็ต่างจากสัตว์มาก  เรามีวิถีชีวิตและประสบการณ์ที่เป็นเฉพาะตัวของเราเอง  มนุษย์มีความสามารถที่จะชื่นชมและลิ้มรสสิ่งต่างๆ ได้  มีจารีตประเพณีและศิลปะต่างๆ   มนุษย์มีจิตใจ  มีความต้องการความรัก  ความอบอุ่น  ความเข้าใจ  พยายามจะรู้จักและเข้าใจตนเองและยอมรับในสมรรถวิสัยของตนเอง    และมีความสามารถเฉพาะตัว   เช่น   ถ้าให้อิสรภาพแก่เด็กเด็กจะเลือกสิ่งทีดีสำหรับตนเอง พ่อแม่และครูได้รับการกระตุ้นให้มีความไว้วางใจในตัวเด็กและควรเปิดโอกาสและช่วยให้เด็กเจริญเติบโตต่อไป ไม่ใช่ใช้วิธีการควบคุมและบงการชีวิตของเด็กทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ
                ที่มา  แก้วกล้า  มีชัยโย(ออนไลน์)   http://www.tumcivil.com/engfanatic/board/gen.php?topic_id=13741&hit=1       เข้าถึงเมื่อวันที่  2  กรกฎาคม  2555
                     ที่มา  กันยา    สุวรรณแสง. (2532). จิตวิทยาทั่วไป.กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์  บำรุงสาส์น.
                   

                      ที่มา    ศักดา  ปรางค์ประทานพร. (2526)  . ปรัชญาการศึกษาฉบับพื้นฐาน.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น