วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

22.ภาคผนวก (Appendix)


                เก่ง  ภูวนัย  ( http://blog.eduzones.com/jipatar/85921)  กล่าวว่า  ภาคผนวก  คือ สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่
                เทียนฉาย กีระนันทน์ (2547 : 42)   กล่าวว่า  ภาคผนวก เป็นส่วนท้ายของตำรา ซึ่งไม่ใช่เนื้อเรื่องแท้จริงของงานเขียน ภาคผนวกเป็นเพียงส่วนประกอบที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ที่สนใจเรื่องนั้นเป็นพิเศษ ได้ศึกษาอ่านทำความเข้าใจเพิ่มเติม  เช่น  ตาราง  กราฟ  รูปภาพ แบสอบถาม  ฯลฯ
                ไพฑูรย์  สินลารัตน์ (2534: 29)  กล่าวว่า  ภาคผนวก คือรายการที่ผู้ทำรายงานต้องการเสนอเพิ่มเติมนอกเหนือจากส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง รายการเหล่านี้มีความสัมพันธ์และช่วยให้เข้าใจเนื้อเรื่องดีขึ้น เช่น ตัวเลขสถิติ แบบสอบถามตาราง ลำดับ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
                สรุป
                ภาคผนวก  คือ เป็นส่วนท้ายของตำรา ซึ่งไม่ใช่เนื้อเรื่องแท้จริงของงานเขียน ภาคผนวกเป็นเพียงส่วนประกอบที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ที่สนใจเรื่องนั้นเป็นพิเศษ ได้ศึกษาอ่านทำความเข้าใจเพิ่มเติม สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่
ที่มา
เก่ง   ภูวนัย.  (ออนไลน์).  เข้าได้จาก :  http://blog.eduzones.com/jipatar/85921.  สืบค้นเมื่อวันที่  15 พฤศจิกายน  พ..2555.
เทียนฉาย กีระนันทน์. (2547). สังคมศาสตร์วิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์  สินลารัตน์. (2534).  การวิจัยทางการศึกษา.การวิจัยทางการศึกษา : หลักและวิธีการสำหรับนักวิจัย.  
                 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

9. คำสำคัญ (Key Words)


          Mr. Rapassak Ekapong Hetthong   (http://www.wijai48.com/proposal/)  กล่าวว่า  ศัพท์ดรรชนีหรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของงานวิจัย ช่วยในการสืบค้นเข้าถึงงานวิจัยเรื่องนั้น วิธีการคือ ดึงคำหรือแนวคิดที่ปรากฏในชื่อเรื่อง หรือการตั้งชื่อเรื่องควรประกอบด้วยคำสำคัญครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด ควรหลีกเลี่ยงคำศัพท์สามัญที่มีคุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่น วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ระบบความแตกต่าง
                ภิรมย์ กมลรัตนกุล  (2531 : 32 กล่าวว่า   ศัพท์ดรรชนี หรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าเป็นคำหลัก ที่จะช่วยในการ สืบค้นเข้าถึงวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ในการเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์ นิสิตจะต้องคิดคำสำคัญประมาณ 2-3 คำ แต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร
เทคนิคการสร้างคำสำคัญที่ง่ายที่สุด คือ ให้ดึงคำ หรือแนวคิด ที่ปรากฏในชื่อวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อนิสิตกำหนดชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อควรประกอบด้วย คำสำคัญ ครอบคลุม สะท้อนเนื้อหาของวิทยานิพนธ์
คำนาม คำคุณศัพท์ หมายเลขเครื่องมือ ชื่อเฉพาะ สามารถนำมาเป็นคำสำคัญได้ ในขณะที่ควรหลีกเลี่ยง คำศัพท์สามัญ ที่คุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่นคำว่า วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ความแตกต่าง ระบบ เป็นต้น
วิลาวัลย์  โต๊ะเอี่ยม  (http://lib20.kku.ac.th/infoliteracy/opac_journal_keyword.html)   กล่าวว่า       คำสำคัญ หมายถึง คำที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้แทนเนื้อหาของบทความวารสาร ซึ่งต้องเป็นคำที่สั้นกระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะ ซึ่งการค้นหาด้วยคำสำคัญ หรือ Keyword นี้ จะเป็นการค้นหาคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณต้นเรื่อง กลางเรื่องหรือท้ายเรื่อง (ทั้งนี้ยกเว้นคำบางคำ เช่น เป็น, ที่, ซึ่ง,อัน,and, from, the, this, what ฯลฯ)


                สรุป
                ศัพท์ดรรชนี หรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าเป็นคำหลัก ที่จะช่วยในการ สืบค้นเข้าถึงวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ในการเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์ นิสิตจะต้องคิดคำสำคัญประมาณ 2-3 คำ แต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร
เทคนิคการสร้างคำสำคัญที่ง่ายที่สุด คือ ให้ดึงคำ หรือแนวคิด ที่ปรากฏในชื่อวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อนิสิตกำหนดชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อควรประกอบด้วย คำสำคัญ ครอบคลุม สะท้อนเนื้อหาของวิทยานิพนธ์
คำนาม คำคุณศัพท์ หมายเลขเครื่องมือ ชื่อเฉพาะ สามารถนำมาเป็นคำสำคัญได้ ในขณะที่ควรหลีกเลี่ยง คำศัพท์สามัญ ที่คุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่นคำว่า วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ความแตกต่าง ระบบ เป็นต้น
คำที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้แทนเนื้อหาของบทความวารสาร ซึ่งต้องเป็นคำที่สั้นกระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะ ซึ่งการค้นหาด้วยคำสำคัญ หรือ Keyword นี้ จะเป็นการค้นหาคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณต้นเรื่อง กลางเรื่องหรือท้ายเรื่อง (ทั้งนี้ยกเว้นคำบางคำ เช่น เป็น, ที่, ซึ่ง,อัน,and, from, the, this, what ฯลฯ)

ที่มา
Mr. Rapassak Ekapong Hetthong.  (ออนไลน์).  เข้าได้จาก  :  http://www.wijai48.com/proposal/.  สืบค้นเมื่อวันที่  15   
          ธันวาคม พ..2555.
ภิรมย์ กมลรัตนกุล .  (2531).   หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย.  แพทย์ชนบท 8 (1) : 8-21.
วิลาวัลย์  โต๊ะเอี่ยม.  (http://lib20.kku.ac.th/infoliteracy/opac_journal_keyword.html) สืบค้นเมื่อวันที่  15   
          ธันวาคม พ..2555.